รูปแบบของโครงการ ของ รถไฟฟ้ามหานคร สายนัคราพิพัฒน์

  • เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว แบบวางคร่อมราง (straddle-beam monorail)
  • ทางวิ่ง ยกระดับที่ความสูง 17-20 เมตร โดยเฉลี่ยตลอดทั้งโครงการ ยกเว้นช่วงสถานีลาดพร้าวยกสูง 23.07 เมตร ช่วงข้ามแยกต่างระดับกรุงเทพกรีฑาตลอดจนตัวสถานีศรีกรีฑายกสูง 25.79 เมตร ซึ่งเป็นระดับความสูงที่สูงสุดของโครงการ และช่วงยกหนีสะพานข้ามแยกศรีลาซาลตลอดจนสถานีศรีลาซาลยกสูง 24.43 เมตร
  • คานรองรับทางวิ่ง (Guideway Beam) เป็นคอนกรีตหล่อสำเร็จ ควบคู่กับการใช้เหล็กหล่อในบางช่วง มีความกว้าง 69 เซนติเมตร สูง 2 เมตร มีรางที่ 3 ตีขนานไปกับรางวิ่งสำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับตัวรถ

ศูนย์ซ่อมบำรุงและศูนย์ควบคุมการเดินรถ

โครงการมีศูนย์ซ่อมบำรุงและศูนย์ควบคุมการเดินรถกลางที่ถนนศรีนครินทร์ บริเวณด้านข้างโรงแรมเมเปิล ในพื้นที่เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร และอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กับสถานีศรีเอี่ยม

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีอาคารจอดแล้วจร (park and ride) 2 แห่ง ได้แก่ บริเวณสถานีลาดพร้าว อันเป็นอาคารจอดแล้วจรที่ใช้งานร่วมกับสายเฉลิมรัชมงคล และบริเวณด้านหน้าศูนย์ซ่อมบำรุงซึ่งติดกับสถานีศรีเอี่ยม สามารถจอดรถได้ประมาณ 2,800 คัน และจะมีร้านค้าเช่าบริเวณชั้นล่างของอาคาร

สถานี

ภาพมุมมองด้านข้างของสถานีศรีเอี่ยม

มีสถานีทั้งหมด 23 สถานี เป็นสถานียกระดับทั้งหมด

รูปแบบสถานี

ตัวสถานีมีความยาว 150 เมตร รองรับขบวนรถไฟฟ้าได้สูงสุด 7 ตู้ ต่อหนึ่งขบวน ใช้รูปแบบชานชาลาด้านข้างทั้งหมด มีประตูกั้นชานชาลาความสูง Half-height ทุกสถานี ตัวสถานีถูกออกแบบให้หลบเลี่ยงสาธารณูปโภคทั้งบนดินและใต้ดิน รวมถึงออกแบบให้รักษาสภาพผิวจราจรบนถนนให้ได้มากที่สุด และมีเสายึดสถานีอยู่บริเวณเกาะกลางถนน และบริเวณพื้นที่ว่างในบางสถานี

ขบวนรถไฟฟ้า

รถไฟฟ้ามหานคร สายนัคราพิพัฒน์ เลือกใช้รถไฟฟ้าโมโนเรลรุ่น อินโนเวีย โมโนเรล 300 จากอัลสตอม (บอมบาร์ดิเอร์ เดิม) ผลิตโดยซีอาร์อาร์ซี ผู่เจิ้น อัลสตอม ทรานสปอร์เทชัน ซิสเท็ม (CRRC-PATS) ในมณฑลอานฮุย ประเทศจีน ขนาดกว้าง 3.147 เมตร ยาว 11.8-13.2 เมตร สูง 4.06 เมตร (เมื่อคร่อมรางทั้งหมด) จุผู้โดยสารสูงสุด 356 คนต่อตู้ (คำนวณจากอัตราความหนาแน่นที่ 4 คน/ตารางเมตร) มีทั้งหมด 30 ขบวน 120 ตู้ รับไฟฟ้ากระแสตรง 750 โวลท์ จากรางที่ 3 ที่ติดตั้งด้านข้างคานรองรับทางวิ่งเพื่อป้อนระบบขับเคลื่อนรถ ตัวยางล้อใช้ยางรุ่น เอ็กซ์ เมโทร จากมิชลิน ประเทศไทย ติดตั้งระบบระบบปรับอากาศและสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 15,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง ในอนาคตสามารถเพิ่มจำนวนตู้โดยสารเป็น 7 ตู้ต่อขบวน สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 28,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง ขบวนรถสามารถขับเคลื่อนจากจุดจอดแต่ละสถานีได้เองโดยไม่ต้องใช้คนควบคุมหรือสั่งการ

ระบบในการเดินรถ

ในการเดินรถไฟฟ้าได้นำระบบอาณัติสัญญาณ CITYFLO 650 จากศูนย์ควบคุมการเดินรถ ซึ่งเป็นระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในการควบคุมการเดินรถโดยอัตโนมัติ เพื่อให้การบริการมีประสิทธิภาพ, สะดวกรวดเร็ว, ปลอดภัยสูงสุด และรองรับการเดินรถไฟฟ้าแบบไม่ใช่คนควบคุมขบวนรถ (Driverless Operation)

ใกล้เคียง

รถไฟฟ้ามหานคร รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล รถไฟฟ้ามหานคร สายนัคราพิพัฒน์ รถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม รถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำตาล รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเขียวอ่อน รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเขียวเข้ม รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเงิน

แหล่งที่มา

WikiPedia: รถไฟฟ้ามหานคร สายนัคราพิพัฒน์ http://www.mrta.co.th/new_line/AW-MRTA_10_line_bro... http://www.mrta-yellowline.com/ https://www.bangkokbiznews.com/business/926908 https://web.archive.org/web/20130722192152/http://... https://www.dailynews.co.th/news/2411248/ https://kpi-lib.com/elib/cgi-bin/opacexe.exe?op=mm... https://www.businesstoday.co/business/06/10/2020/5... https://www.bangkokpost.com/learning/easy/2598008/... https://mrta-yellowline.com/wp/2-locations-proj-th https://www.alstom.com/press-releases-news/2023/6/...